top of page
Historical of Franz Strauss Fantasy on Schubert’s Sehnsuchtswalzer, Op.2 

Historical of Franz Strauss

Fantasy on Schubert’s Sehnsuchtswalzer, Op.2 

301141_detail-01.jpg
Topic Description

ในเทอมนี้ผมได้เลือกเรียนเพลงทักษะเครื่องเอกคือ Fantasy on Schubert's Sehnsuchtswalzer, Op.2 ของ Franz Strauss ทำให้ผมต้องการศึกษาถึงประวัติของเพลง เพื่อสามารถนำไปใช้ในการเรียนตีความบทเพลงและเข้าใจเพลงให้มากยิ่งขึ้นในวิชาทักษะเครื่องเอกและการใช้สอบเพลงนี้ในปลายภาคการศึกษา เพลงFantasy on Schubert's Sehnsuchtswalzer, Op.2 ของ Franz Strauss เป็นเพลงที่ Franz Strauss แต่งขึ้นมาเพื่อให้ French Horn เล่นและเป็นผลงานการประพันธ์ในช่วงเริ่มต้นของ Strauss โดย Strauss เป็นทั้งผู้ประพันธ์

นักดนตรี โดยเครื่องดนตรีหลักของเขาคือ French Horn และเป็นนักประพันธ์เพลงในปลายยุคคลาสสิค ต้นโรแมนติกอีกด้วย Strauss

ได้ประพันธ์ เพลงเดี่ยวให้ French Horn มากมายเน้นการถ่ายทอดอารมณ์ต่างๆ ใช้เทคนิคของ French Horn ต่างๆในบทเพลงอีกด้วยโดยในช่วงเริ่มต้นของเขาได้เริ่มประพันธ์เพลงเดี่ยวให้ฮอร์นและเปียโนเป็นเครื่องดนตรีประกอบ

Franz Schubert Trauerwalzer Op.9 No.2
fan.png

Franz Schubert

Trauerwalzer Op.9 No.2

Portrait-oil-wood-Franz-Schubert-Gabor-M

   จากหนังสือ Essays on Schubert ของ Maurice J. E. Brown บท “The Story of the ‘Trauerwalzer’” ได้เขียนไว้ว่า ผลงานเพลงวอลทซ์ได้รับความนิยมมากที่สุดของ Schubert ในยุโรปได้รับความนิยมตั้งแต่ปีค.ศ. 1820 จนถึงปลายๆของศตวรรษได่อย่างไม่น่าเชื่อ โดยผลงานต่างๆนั้นมีหลากหลายประเภทซึ่งมาจากชีวประวัติของนักประพันธ์ และSchubert ได้นำส่วนหลักๆของเพลงมาขยายออกจนกลายเป็นเพลงใหม่อีกเพลง แต่ส่วน Schubert ที่นำมานั้นยังไม่ใช่เรื่องราวทั้งหมดของเพลงนั้นๆ เพียงนำมาแค่ส่วนเล็กๆหรือแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น เหตุผลที่ทำให้เพลง Trauerwalzer เป็นเพลงวอลทซ์สั้นๆและมีส่วนสำคัญแค่ 16 ห้อง ประวัติของเพลงนี้ค่อนข้างสับสนและไม่มีการระบุแหล่งที่มาของเพลงนี้ แต่เพลงนี้มีเสน่ห์และน่าค้นหาเป็นอย่างมาก ระดับเพลงสั้นของ Schubert นั้นสามารถเทียบได้กับระดับของเพลงร้องของเยอรมันเลยก็ได้ เพลงยังคงใช้ฟอร์มแบบเดิมทั้งหมดที่สามารถฟังง่าย ไม่ซับซ้อนตั้งแต่แรก ทำให้เพลงนี้สามารถฟังได้เรื่อยๆได้แบบต่อเนื่องและสามารถถ่ายทอดอารมณ์ออกมาได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งเพลงนี้ได้รับความนิยมในวงกว้างในประเทศเวียนนาได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพลงนี้ส่งต่อกันแบบจากคนสู่คน จากกลุ่มหนึ่งสู่อีกกลุ่มหนึ่ง จากโน๊ตที่ผ่านหูจนถึงทั้งเมือง โดยเพลงนี้เป็นผลงานการประพันธ์เพลงลำดับที่ 9 ของ Schubert และเป็นหนึ่งในเพลงชุด 36 Original Dance ของ Schubert อีกด้วย แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า Schubert นั้นเริ่มประพันธ์เพลงวอลทซ์ตั้งแต่เมื่อไร โดเพลงTrauerwalzer มีทำนองแบบขึ้นสูงในจังหวะเบาและลงต่ำในจังหวะหนัก คล้ายกับช่วงท้ายของเพลง La pastorella al prato, D.528 ที่เริ่มออกมาในเดือนมกราคม ค.ศ.1817 แต่เพลงนี้นั้นประพันธ์เสร็จ ตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1816 ทำให้เป็นไปได้ว่าเพลง Trauerwalzer ประพันธ์ราวๆนั้น ซึ่งเพลงนี้ได้รับ ความนิยมในวงกว้างในประเทศเวียนนาได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพลงนี้ส่งต่อกันแบบจากคนสู่คน จากกลุ่มหนึ่งสู่อีกกลุ่มหนึ่ง จากโน๊ตที่ผ่านหูจนถึงทั้งเมือง ซึ่งในตอนแรกนั้นการประพันธ์ชิ้นนี้ยังไม่มีชื่อเรียกว่า Trauerwalzer แต่เพราะตอนนั้น Schubert ยังไม่ได้เป็นที่รู้จักในกลุ่มนักดนตรี และสำนักพิมพ์ต้องการจะขายโน๊ตเป็นอย่างมาก สำนักพิมพ์จึงนำมาใส่ชื่อว่า Trauerwalzer หรือ Mournful Waltz และประพันธ์โดย Beethoven เพื่อให้เพลงนี้นำเอาออกมาขายนั้นสามารถขายได้ปริมาณมากเพราะ Beethoven เป็นนักดนตรีและนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงในตอนนั้น และเมื่อ Schubert ได้รับรู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงพูดขึ้นมาว่า “What ass would compose a mournful waltz!” มีแค่คนรอบข้างของ Schubert เท่านั้นที่รู้ว่าคนที่ประพันธ์จริงๆคือ Schubert แต่ยังไงก็ตามเหตุการณ์นี้ทำให้ผลงาน การประพันธ์ชิ้นทำให้รู้จักเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว และเพลงนี้สามารถดึงดูดนักประพันธ์ท่านอื่นได้อย่างน่าสนใจอย่าง Johann Pensel, Carl Czerny, Robert Schumann และ Franz Strauss ในภายหลังอีกด้วย

  • สรุปแล้วเพลงนี้ผู้คนรู้จักเพราะเคยมีชื่อ Beethoven?

  • ผลงาน Variations ของ Carl Czerny กับ Franz Strauss แตกต่างกันอย่างไร?

  • ภายหลังผลงานของ Franz Strauss ทำให้การประพันธ์เพลงเดี่ยวและพัฒนาการของ French horn เปลี่ยนไปอย่างไร?

Questions in my Research

Questions in my Research

Analysis Trauerwalzer

Analysis Trauerwalzer
fan1.png

เพลงนี้เป็นแบบ Binary Form อัตราส่วนโน้ตแบบ 3 4 อยู่ในคีย์ Ab major โดยเพลงนี้ประกอบด้วยโครงสร้างของ harmonie ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน และโครงสร้างเพลงแบบวอลทซ์พื้นฐาน เพลงนี้มีเพียง 16ห้องและ2sections หลักๆคือ 8ห้องแรกและ8ห้องหลังที่มี Harmonie แตกต่างจากตอนแรกและมีความน่าสนใจอย่างมาก โดยเพลงเริ่มจาก pick up note แล้วเข้าสู่ห้องแรก โดยเบสจะ accom แบบวอลทซ์มาตรฐาน โดยห้องแรกคอร์ดจะเปลี่ยนไปทุกจังหวะ คือ I - vii ํ6 - I6 และเข้าสู่คอร์ดIVในห้องต่อไป ส่วนห้องที่สามมีการเดินคอร์ดเหมือนกับห้องแรกแต่ใช้คอร์ด ii แทน คอร์ด I ทำให้คอร์ดในห้องนี้ คือ ii - vii ํ6/ii - ii6 และเข้าสู่คอร์ด V ในห้องต่อไป และตั้งแต่ห้องที่5ไปจะใช้คอร์ด pro. Tonic dominant7 ใน สลับกันไปในแต่ ละห้องจนจบ sectionแรก และในsectionที่สองหรือครึ่งหลังของเพลง เริ่มด้วยคอร์ดV7 ส่วนห้องต่อไปเป็นคอร์ด Ab minor หรือ i ที่เป็น parallel ในคีย์Ab คอร์ดต่อไปคือB7 ซึ่งเป็นคอร์ดV7ในคีย์E ในห้องต่อไปคือคอร์ด E major ซึ่งไม่สามารถมีคอร์ดE major ในคีย์Abได้ทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่าเกิดการเปลี่ยนคีย์เกิดขึ้น และในห้องต่อไปได้เปลี่ยนกลับไปคีย์เดิมโดยใช้คอร์ด Gr+6 และ ตามด้วย I64 ช่วงจบเพลงได้ใช้เป็น P.AC. โดยใช้V7-I โดยเพลง Trauerwalzer หรือเพลงเพลงวอลทซ์งานศพ ได้ชื่อนี้มาเพราะครึ่งหลังของเพลงนี้มีการเปลี่ยน Harmonie โดยใช้โน้ต Fb ในการเปลี่ยนและ Melody เล่นลงมาเรื่อยๆทำให้เพลงนี้รู้สึกหม่นๆหรือเศร้าลง 

  Franz Strauss

Fantasy on Schubert’s Sehnsuchtswalzer, Op.2

  Franz Strauss Fantasy on Schubert’s Sehnsuchtswalzer, Op.2

                                                     จากข้อมูลจากเว็บไซด์ https://www.hornsociety.org/ihs-people/past-                                                            greats/28-people/past-greats/128-franz-strauss เขียนโดย John Ericson                                                        ได้เขียนไว้ว่า Franz Strauss เป็นทั้งผู้ประพันธ์ นักดนตรี โดยเครื่องดนตรีหลักของ                                                    เขาคือ French Horn และเป็นนักประพันธ์เพลงในยุคคลาสสิคอีกด้วย Strauss ได้                                                      ประพันธ์เพลงเดี่ยวให้ French Horn มากมายเน้นการถ่ายทอดอารมณ์ต่างๆ ใช้                                                        เทคนิคของFrench Horn ต่างๆในบทเพลงอีกด้วย หากถ้า Richard Strauss                                                          (1864-1949) ลูกชายของ Franz Strauss(1822-1905) ไม่ได้โด่งดังไปทั่วโลกใน                                                    เรื่อง Tone poem และ opera คงจะทำให้ Franz Strauss กลายเป็นหนึ่งในนักดนตรี                                                    ที่ถูกลืมไปก็ได้ นักดนตรีที่ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป้นบุคคลสำคัญทางศิลปะในช่วง                                                      ชีวิตเขาเป็นที่ยอมรับว่า Franz Strauss ไม่ได้ชนะใครในฐานะนักประพันธ์ หรือเขา                                                      แสวงหาการยอมรับจากคนรุ่นราวคราวเดียวกัน แต่เขาเป็นตำนานที่ยังมีชีวิตอยู่ใน                                                    ฐานะผู้ชี่ยวชาญด้านฮอร์น "breathing soul, as it were, into the unthankful                                                          instrument." Richard Wagner (Ericson, Franz Strauss)กล่าว ซึ่ง Wagner และ                                                    Franz Strauss เป็นนักประพันธ์ที่ไม่ถูกกันอย่างเพราะแนวคิวและแนวทางการแต่ง                                                      เพลงของทั้งสองคน แต่ Wagner ยังยอมรับการเล่นฮอร์นของ Franz Strauss มา                                                    เสมอ "Old Strauss is an unbearable fellow, but when he plays the horn one can't really mind him." Richard Wagner (Ericson, Franz Strauss)กล่าว ซึ่ง Franz Strauss ได้เป็นสมาชิกของวง Royal Court Orchestra เมืองมิวนิคในปี ค.ศ. 2390 และเขายังได้เป็นคนที่ได้สร้างมาตรฐานและลูกเล่นใหม่ให้กับการเล่นฮอร์นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วผลงานการประพันธ์เพลงฮอร์นเดี่ยวเป็นส่วนสำคัญของ Franz Strauss และรวมไปถึงเพลงเดี่ยวอีกทั้ง 2 เพลงที่ทำให้เป็นผลงานการประพันธ์ที่ผู้เล่นฮอร์นร่วมสมัยชื่นชอบกันเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม Franz Strauss ยังมีผลงานการประพันธ์ชุดเพลงเต้นและการเดินขบวนสำหรับวง Orchestra อีกด้วย ซึ่งในตอนแรกนั้นมีชื่อว่า “Harbni” และต่อมามีชื่อว่า “Wilden Gung”. และมีการบันทึกเสียงงานของ Franz Strauss ที่บรรเลงโดยฮอร์นและเปียโนเป็นเครื่องประกอบ Franz Strauss ได้ประโยชน์จากความเป็นไปได้ทางเทคนิคและการพัฒนาของเครื่องดนตรีของวาล์วฮอร์น ซึ่งทำให้สามารถเกิดผลงานของ Franz Strauss ลำดับที่ 2 ออกมาได้ นั้นคือเพลง Fantasy on Schubert's Sehnsuchtswalzer, Op.2 ที่ได้นำเอา Theme ของ Franz Schubert จากผลงานเพลง Trauerwalzer Op.9 No.2 มาสร้างและประพันธ์ออกมาเป็นเพลงเดี่ยวฮอร์นโดย เพิ่ม Variations ต่างๆลงไป แต่ผลงานการประพันธ์ส่วนใหญ่ของ Franz Strauss เป็นลักษณะการประพันธ์ของในยุคนั้น และผลงานการประพันธ์บางส่วนก็ได้รับการตั้งชื่อบทกวีโดย Franz Stranss เอง โดยเพลงในยุคนั้นได้รับอิทธิพลอย่างมากจาก Franz Schubert, Mendelssohn, Chopin และ Schmann ที่ทำให้เป็นลักษณะของเพลงยุคโรแมนติกที่ได้รับความนิยมกันเป็นอย่างมากในช่วงศตวรรษที่ 19 ทั้งด้านการแสดงความรู้สึก การปลุกเร้าอารมณ์และการสร้างสรรค์ผลงานภาพจากผลงานดนตรี ซึ่งสามารถกับผู้คนในยุคนั้นได้อย่างมาก และได้เกิดแนวคิดว่าถ้าเปียโนสร้างเล่นได้แบบไหนก็จะสามารถเล่นได้สำหรับเครื่องดนตรีอื่นๆได้เช่นกัน ซึ่งการที่ Franz Strauss อุทิศตัวเองให้กับแนวผลงานเพลงนี้แสดงให้เห็นว่าในการแต่งเพลงฮอร์นของเขาเขาไม่ได้เกี่ยวข้องกับการนำเสนอความเก่งกาจในแง่ของความสามารถทางเทคนิค แต่คาดหวังที่จะได้ใช้ประโยชน์ต่างๆจากการถ่ายทอดอารมณ์ผ่านเครื่องดนตรีของเขาเองเพื่อให้เพลงสามารถสร้างความต้องการและถ่ายทอดความรู้สึกได้ตามที่ต้องการหรือมากกว่า และทำให้เครื่องดนตรีสามารถบรรเลงได้เหมือนๆกันทุกเครื่องดนตรีและทำให้เพลงมีความน่าสนใจและมีเสน่ห์ของการประพันธ์เพลงเหล่านี้จนถึงทุกวันนี้

Franz_Strauss.jpg

Answer the questions in my research

หลังจากศึกษาข้อมูลและประวัติของเพลงต่างๆแล้ว เพื่อให้ได้คำตอบของคำถามต่างๆจึงใช้ข้อมูลที่ได้มาร่วมกับสร้างแบบสอบถาม วิเคราะห์เพลงเพื่อเปรียบเทียบ และใช้การสัมภาษณ์เพื่อใช้ในการคำถามในงานวิจัยนี้

​Answer the questions in my research
—Pngtree—forms icon for your project_481
compare.png
150-1500373_human-clipart-recruitment-in

Questionnaire

Comparative

Analysis

Interview

Questionnaire

การทำแบบสอบคำถามนี้เพื่อให้ทราบว่าคนทั่วไปใช้อะไรในการตัดสินใจหรือเลือกฟังเพลงจากอะไร เพื่อใช้ในการตอบคำถามข้อที่1ของวิจัยครั้งนี้ โดยสอบถามทั้งนักดนตรีทั่วไป คนเรียนดนตรี และคนทั่วไป แบบสอบถามนี้เป็นแบบสอบถามแบบออนไลน์ เพื่อให้สะดวกต่อการเก็บข้อมูลและสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้ Google Form ในการทำ จากแบบสอบถามพบว่า​ ชื่อของผู้ประพันธ์นั้นมีผลต่อการเลือกฟังเพลงๆหนึ่งอย่างมาก ทำให้รู้ว่าสมัยของ Franz Schubert การที่เพลงๆหนึ่งจะดังได้ต้องมีชื่อผู้ประพันธ์ดังๆประพันธ์ถึงจะมีคนฟัง จึงทำให้เพลง Trauerwalzer ของ Franz Schubert ได้รับความนิยมมากในตอนนั้นเพราะชื่อของ Beethoven เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในนั้น

—Pngtree—forms icon for your project_481
Questionnaire
compare.png

Comparative Analysis

การเปรียบเทียบนี้ใช้บทเพลง Variations on a Favourite Viennese Waltz by F. Schubert, Op.12 ของ Carl Czerny ที่เล่นบนเครื่องดนตรี Piano และ Fantasie on Sehnsuchtswalzer ของ Franz Strauss ที่เล่นบนเครื่องดนตรี French horn เพื่อให้เห็นความแตกต่างของการประพันธ์และการเล่นบนเครื่องดนตรี Piano และ French horn ทั้งด้านการถ่ายทอดอารมณ์ และความคล่องตัวของเครื่องดนตรีทั้งสองชิ้น

Comparative Analysis

ผลงานทั้งสองชิ้นนี้ได้นำเพลง Trauerwalser op.9 No.2 ของ Schubert มาใช้เป็น Theme ในการประพันธ์ของทั้งสองเพลงนี้และนำมาขยายเป็น Variations ต่างๆ โดย Carl Czerny ได้ประพันธ์โดยให้ Piano เล่นเดี่ยว และ Franz Strauss ได้ประพันธ์ให้ French Horn เล่นเดี่ยวและมี Piano เป็นเครื่องดนตรีประกอบ ซึ่งผลงานทั้งสองชิ้นนี้มีความแตกต่างกันอย่างมากเพราะขีดจำกัดของเครื่องดนตรีทั้งสองชิ้น เช่น ความกว้างของระดับเสียง Tone ของเครื่องดนตรี รวมถึงความคล่องตัวของเครื่องดนตรีอีกด้วย ทำให้ผลงานทั้งสองชิ้นนี้สื่ออารมณ์ของบทเพลงได้ไม่เหมือนกัน สังเกตุได้จากท่อน Introduction ของทั้งสองบทเพลงที่ใช้คีย์ไม่เหมือนกัน โดยผลงานของ Czerny นั้นจะนำเสนอความคล่องตัวของ Piano ออกมาทางการไล่ของโน้ตจากต่ำมากไปถึง สูงมากๆและใช้โหมดต่างๆสลับไปมาในการเล่น ไม่มี Time signature และ Tempo ที่ตายตัวคล้ายกับ Cadanza แต่ผลงานของ Strauss ในท่อน Introduction นั้นมี Key signature Time signature และ Tempo ที่ชัดเจน ไม่ได้เน้นความหวือหวาวของโน้ตเหมือนของ Czerny แต่ Strauss ประพันธ์ท่อนนี้เป็นแบบไพเราะๆของแนว Melody ทั้งของเครื่องเดี่ยวและเครื่องดนตรีประกอบ แล้วค่อยๆส่งไปหาท่อนต่อไปอย่างเนียนๆ ในท่อนต่อมา ท่อน Theme Strauss ได้เปลี่ยน Key signature เป็น Bb major ซึ่งไม่เหมือนต้นฉบับที่ใช้ Key signature เป็น Ab major แต่ Strauss ยังคง Theme, Melody และ Time signature ไว้เหมือนกับต้นฉบับ อีกทั้ง Strauss ยังได้เพิ่มท่อนเชื่อมเพื่อเข้าสู่ท่อนต่อไป แต่ Czerny ได้ประพันธ์ท่อนนี้ไว้เหมือนกับต้นฉบับทุกอย่าง ยกเว้น Pick up โน้ตในตอนแรกที่ได้เปลี่ยนไปเป็นอีกแบบและ Dynamic ที่หวือหวาวมากๆ ในท่อน Variations ทั้งหมดของทั้งสองบทเพลง ได้ใช้ Time signature แบบเดียวกันคือ 3 4 และมีจุดเด่นคล้ายๆกัน คือการไล่โน้ตที่มากขึ้นอยู่บน Theme เดิมและใช้เทคนิคต่างๆของเครื่องดนตรีในการเล่นอีกด้วย โดยผลงานของ Czerny มี 4 Variations แล้วจบ แต่ผลงานของ Strauss มีเพียง 2 Variations กับอีก 2 ท่อนแยก โดยในท่อนสุดท้าย Strauss ได้ประพันธ์ไว้เพื่อแสดงเทคนิคที่ท้าท้ายผู้เล่นไว้อีกด้วย

Interview

โดยผู้ที่สัมภาษณ์ในครั้งนี้คือ อาจารย์ ดร.คมสัน ดิลกคุณานันท์ เพราะเคยเล่นเพลงนี้เชี่ยวชาญด้านเครื่องดนตรี French horn และสามารถตีความบทและตอบคำถามเพลงนี้เป็นอย่างดี

Interview

คำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์

  • อาจารย์คิดว่าอะไรที่ทำให้ให้ Franz Strauss อยากแต่งเพลงนี้จาก Theme ของ Franz Schubert?

  • ทำไม Franz Strauss ถึงไม่แต่งเพลงนี้ให้อยู่ในคีย์เดียวกับต้นฉบับ

  • ในท่อน Variations 2 ควรฝึกอย่างไร เพราะเป็นโน้ตที่ยาวและเร็วมาก

  • เพลงนี้ทำให้เครื่องดนตรี French Horn พัฒนามากน้อยแค่ไหน ยังไงบ้าง

  • เพลงนี้ทำให้ผลกระทบอะไรบ้างในการแต่งเพลงเดี่ยวในภายหลัง

Conclusions

Conclusions

จากคำถามในข้อแรกที่ได้ตั้งไว้ว่า "สรุปแล้วเพลงนี้ผู้คนรู้จักเพราะเคยมีชื่อ Beethoven?" สามารถตอบคำถามนี้โดยการศึกษาประวัติเพลงและการทำแบบสอบถามสรุปได้ว่า ใช่ เพราะ ชื่อของ Beethoven มีผลต่อการฟังเพลงของคนสมัยนั้น

ในคำถามข้อที่สอง "ผลงาน Variations ของ Carl Czerny กับ Franz Strauss แตกต่างกันอย่างไร?" โดยใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบและสรุปได้ในตัว

และคำถามข้องสุดท้าย "ภายหลังผลงานของ Franz Strauss ทำให้การประพันธ์เพลงเดี่ยวและพัฒนาการของ French horn เปลี่ยนไปอย่างไร?" ได้หาคำตอบจากการสัมภาษณ์ อาจารย์ ดร.คมสัน ดิลกคุณานันท์ คณบดีสำนักวิชาดุริยางคศาสตร์ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ผู้เคยเล่นเพลงนี้เชี่ยวชาญด้านเครื่องดนตรี French horn

Bibliography

Brown, Maurice J. E. “The Story of the ‘Trauerwalzer’” In Essays on Schubert. 291-306. London: Macmillan, 1966. https://archive.org/details/essaysonschubert0000brow/page/n7/mode/2up Accessed Monday, September 7, 2020.
 

Milan, Luis de. “Fantasia.” In The New Grove Dictionary Of Music And Musicians, edited by Stanley Sadie, 545-557. 2nd ed. New York, 2001.
 

Field, Christopher D.S. E. Eugene Helm and William Drabkin. “Fantasia, 19th and 20th centuries” In The New Grove Dictionary Of Music And Musicians, edited by Stanley Sadie, 557. 2nd ed. New York, 2001.
 

"Fantasia: 19th and 20th centuries." In The Oxford Dictionary Of Music, edited by Tim Rutherford-Johnson, 279. 6th ed. New York, 2013.
 

“Strauss, Franz Joseph.” In The Oxford Dictionary Of Music, edited by Tim Rutherford-Johnson, 817. 6th ed. New York, 2013.
 

My Years With Early Music. “Franz Schubert: Sehnsuchts- oder Trauerwalzer Opus. 9,2 D 365.” Nov 16, 2018. Video, 0:52. https://www.youtube.com/watch?v=s2_lEdX-Xzs
 

Strauss, Franz Josef. “Fantasie.” Arrangements For Wind band. P. G. Saganski, Feb 17, 2017. https://imslp.org/wiki/Fantasie%2C_Op.2_(Strauss%2C_Franz)

Ericson, John. "Franz Strauss (1822-1905)." 2003. https://www.hornsociety.org/ihs-people/past-greats/28-people/past-greats/128-franz-strauss Accessed Monday, September 7, 2020.

Stefan Dohr - Topic. "Fantasy on Schubert's Sehnsuchtswalzer, Op. 2." Feb 1, 2015. Video, 10:47. https://www.youtube.com/watch?v=W7kxpNOI9_c

bottom of page